ผลกระทบที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมต่อแผ่นพื้นไร้คารในประเทศไทย

Share Code

File Details

รหัส : 2932

ชื่อไฟล์ : ผลกระทบที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมต่อแผ่นพื้นไร้คารในประเทศไทย

อยู่ในหมวดหมู่ :

รายละเอียด :

ผลกระทบที่เกิดจากแรงแผ่นดินไหวและแรงลมต่อแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีต
อัดแรงในประเทศไทย

ดร.ฉัตร สุจินดา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม


-------------------------------------

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาทดลองวิเคราะห์และออกแบบระบบโครงสร้างแผ่นพื้นไร้คาน
คอนกรีตอัดแรง-เสา-กำแพงรับแรงเฉือน เพื่อใช้รับแรงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง แรงลม (มยผ.
1311-50) และแรงแผ่นดินไหว (มยผ. 1302-52) โดยไม่ใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างที่เป็นคานเข้ามา
เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าและสเปคตรัมการตอบสนอง และเปรียบเทียบผลของการ
วิเคราะห์ออกแบบโดยเน้นเฉพาะผลกระทบของแรงด้านข้าง ที่มีต่อปริมาณเหล็กเสริมข้ออ้อยใน
ส่วนของแผ่นพื้นไร้คานคอนกรีตอัดแรง
จากการศึกษาอาคารแปลนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีจำนวน 6 ช่วงสแปนทั้งสองทิศทาง มี
ความสูง 7,14, 21 และ 28 ชั้นและมีความหนาของแผ่นพื้นคงที่พบว่าอาคารสูง 21 และ 28 ชั้นต้องใช้
เหล็กเสริมปริมาณมากมายจนไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ อัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณา
แรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียวคือ 1.02,
1.72 และ 4.55 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ อัตราส่วนปริมาณเหล็กเสริมที่
พิจารณาทั้งแรงลมตาม มยผ. 1311-50, แรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธี
แรงสถิตเทียบและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.65, 48.30 และ
140.00 เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ และสุดท้ายปริมาณเหล็กเสริมที่พิจารณาทั้ง
แรงลมตาม มยผ. 1311-50 และแรงแผ่นดินไหวตาม มยผ. 1302-52 ที่วิเคราะห์ด้วยวิธีสเปคตรัม
การตอบสนองและแรงโน้มถ่วง ต่อที่พิจารณาแต่แรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว 2.01, 30.27 และ 71.76
เท่าสำหรับอาคารสูง 7, 14 และ 21 ชั้นตามลำดับ

เครดิตไฟล์ :

ดร.ฉัตร สุจินดา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้อัพโหลด : admin

หมวดการกรอง :

    PDF
    ไฟล์ต้นฉบับ (ชัดเจน)
    เอกสารอบรม / สัมมนา / ดูงาน

ดาวน์โหลด :

สถิติ :

(รหัส : 2932)
ขนาดไฟล์ 3.47 MB
(By : admin)
เมื่อ 04 มีนาคม 2556 14:22
โหลดแล้ว 251 ครั้ง ( รายละเอียด)
ดูแล้ว 1,841 ครั้ง
ความคิดเห็น 1
คะแนน 4

Comments