Spreadsheet สำหรับหาแรงในเสาเข็มเยื้องศูนย์ + ทั้งแรงแนวแกนและโมเมนต์ (อัพเดท 21-04-64)

Share Code

File Details

รหัส : 7663

ชื่อไฟล์ : Spreadsheet สำหรับหาแรงในเสาเข็มเยื้องศูนย์ + ทั้งแรงแนวแกนและโมเมนต์ (อัพเดท 21-04-64)

อยู่ในหมวดหมู่ :

รายละเอียด :

อัพเดท (21-04-64) มีการตรวจสอบกับผลการคำนวณที่เปรียบเทียบกับท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ

.......................................................................................................................................

Spreadsheet สำหรับคำนวณหาแรงในเสาเข็มเยื้องศูนย์ / สำหรับหาแรงในเสาเข็มเยื้องศูนย์++ ทั้งแรงแนวแกนและโมเมนต์

ความเดิม....มีโอกาสได้ใช้สุดยอดโปรแกรม DRMK ของท่าน ผศ.ดร.มงคล จิรวัชรเดช ท่านอาจารย์ Contribute ให้แก่วงการวิศวกรโยธาเรามากๆ ผลงานท่านมากมาย ครั้งหนึ่งเคยมีปัญหา ฐานรากเสาเข็ม 12 ต้น และมีเหตุจำเป็นต้องเพิ่มเสาเข็มต้นเป็น 14 ต้น มีเสาเข็มเยื้องศูนย์ (แถมมีโมเมนต์ทั้งสองอีก อันนี้มะโน) มาเลยครับพระเอกของผม DRMK สุดยอดโปรแกรมมีให้มาแค่ 12 ต้นทำไงดีครับ เลยถือโอกาสเขียน MS.Excel ใช้Google เลย เจอFile Pdf ของท่าน ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลยค่อยๆแกะ.... จึงเป็นที่มา...........ถ้าเยื้องมากๆ DRMK บอกว่าควรใช้ Strut-Tie Model อีก..... แบบนี้มันต้องโปรแกรมระดับสูง ไม่เป็นครับ เลยให้น้องๆ เล่นSTADD. Pro ทำ Support เป็นสปริง.....ก็เห็นอะไรบางอย่าง...ถ้าเอาง่ายๆแบบที่ผมพัฒนา(เสาเข็ม4,5,6,8และ14ต้น)แล้วใช้ได้ ก็ใช้กันนะครับ แต่รับผิดชอบกันเองนะครับ ผมก็เคยได้ใช้บ้างให้มันดูมีวิชาการหน่อย ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนเพิ่มลดจำนวนเสาเข็มกี่ต้นก็แทรกกันเองนะครับ

ผศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี (มหาวิทยาลัยสยาม)

-----------------------------------------------

การตอกเสาเข็มหรือการเจาะเสาเข็มมักจะมีปัญหาการเยื้องศูนย์และความคาดเคลื่อนจากตำแหน่งเสาเข็มที่ต้องการเนื่องจากปัจจัยต่างๆของหน้างานก่อสร้าง โดยปกติจะมีค่าความคาดเคลื่อนที่ยอมให้ซึ่งเป็นค่าในเชิงปฏิบัติ แต่อย่างไรกรณีมีค่าเกินข้อกำหนดหรือมีต้องการวิเคราะห์แรงในเสาเข็มให้แม่นยำขึ้น วิศวกรหรือผู้ก่อสร้างจำเป็นต้องคำนวณวิเคราะห์แรงในเสาเข็มแต่ละต้นเพื่อทบทวนการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพจริง ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์หาแรงในเสาเข็มแต่ละต้นที่มีแรงภายนอกทั้งแรงในแนวดิ่งและโมเมนต์ทั้งแกน x และ y โดยใช้ระเบียบวิธีการคำนวณตามทฤษฎีความยืดหยุ่นและแข็งแกร็ง อีกทั้งนำเสนอการประยุกต์โปรแกรม MS. Excel ให้สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง สุดท้ายผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมได้นำมาตรวจสอบกับคำตอบของตัวอย่างคำนวณ

เสาเข็มตอกหรือเสาเข็มเจาะเกิดการเยื้องศูนย์จากตำแหน่งเดิมเป็นปัญหาที่คลาสสิคที่หน้างานก่อสร้างพบกันเป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ เนื่องด้วยธรรมชาติของหน้างานก่อสร้างที่มีความคลาดเคลื่อนในการทำงานค่อนข้างมาก จากตัวอย่างการรายงานตำแหน่งเสาเข็มจากหน้างาน ดังรูปที่ 1 ค่าการเยื้องศูนย์ที่ยอมให้อาจยึดถือค่าการเยื้องศูนย์ที่ยอมให้เท่ากับ 0.075 ม. หรือ 0.10 ม.เป็นการใช้ข้อมูลแบบกำปั้นทุบดิน(Rule of Thumb) หรืออาจจะมีการกำหนดให้ระยะเยื้องศูนย์ที่ยอมให้เท่ากับความกว้างเสาเข็มส่วนหก(L/6 หรือ D/6) ซึ่งเป็นระยะ Kern จริงๆแล้วค่าดังกล่าวอาจจะได้รับการยอมรับหรือไม่เพียงพอต่อการขออนุมัติการดำเนินงานต่อในขั้นตอนต่อไป อีกกรณีที่พบบ่อยคือมีการชำรุดของเสาเข็มเสาเข็มหัก หรือไม่ได้คุณภาพตามกำหนด ทำให้ไม่สามารถตอกเสาเข็มในตำแหน่งเดิมๆได้ หรือ เสาตอม่อก็อาจมีความคาดเคลื่อน หรืออาจมีแรงดัดจากโครงสร้างด้านบนเข้าสู่ตอม่อ เมื่อเกิดปัญหาเหล่านั้นขึ้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องหาวิธีการแก้ปัญหาอัน ได้แก่ การพิจารณาว่าเสาเข็มที่มีอยู่สามารถรับนํ้าหนักหรือแรงต่างๆอย่างปลอดภัย โดยทั้งนี้ อาจต้องมีการปรับปรุงฐานราก เช่น การขยายฐานราก เพิ่มเหล็กเสริมฐานราก ดังนั้นข้อมูลที่ต้องการคือ ผลการวิเคราะห์การรับนํ้าหนักเสาเข็มแต่ละต้นเป็นเท่าไร ซึ่งค่านี้นำไปสู่การตัดสินใจหรือออกแบบฐานรากต่อไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอวิธีการวิเคราะห์หาแรงปฏิกิริยา และ แนวทางการวิเคราะห์แรงในรูปแบบต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยใช้การประยุกต์ใช้ตารางคำนวณ MS. Excel มาเป็นโปรแกรมช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับงานที่จะต้องคำนวณซํ้าๆ ตามปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประกอบกับต้องทำรายงานเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการเยื้องศูนย์นี้โดยทำการวิเคราะห์ออกแบบให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบและอนุมัติในการดำเนินการต่อไป

ผศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี (มหาวิทยาลัยสยาม)

เครดิตไฟล์ :

ผศ.ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี (มหาวิทยาลัยสยาม)
https://www.facebook.com/chalermkiat.wongvanichtawee

ผู้อัพโหลด : tumcivil

หมวดการกรอง :

    ของคนไทย
    Spreasheets
    เอกสารการสอน / เอกสารอาจารย์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลด :

สถิติ :

(รหัส : 7663)
ขนาดไฟล์ 802.25 KB
(By : tumcivil)
เมื่อ 13 พฤษภาคม 2562 18:14
อัพเดตล่าสุดเมื่อ 21 เมษายน 2564 21:19
โหลดแล้ว 10,122 ครั้ง ( รายละเอียด)
ดูแล้ว 57,309 ครั้ง
ความคิดเห็น 19
คะแนน 4

Comments